IslamicFinder photo gallery banner

Selamat Hari Raya Idil Adha 1428 h..

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2550

การให้อภัย..


คุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งของอัลลอฮฺก็คือพระองค์เป็นผู้ทรงให้อภัย ดังนั้น ในตอนที่พระองค์ทรงสร้างอาดัมมนุษย์คนแรก พระองค์จึงได้ประทานคุณสมบัติแห่งการให้อภัยส่วนหนึ่งมาเป็นธรรมชาติของอาดัม ด้วยเหตุนี้ มนุษยชาติผู้เป็นลูกหลานของอาดัมและเฮาวา(อีฟ)จึงมีธรรมชาติแห่งการให้อภัยติดตัวมา แต่เนื่องจากมนุษย์ไม่รู้เรื่องนี้เพราะถูกโมหะจริตบดบัง บรรดาศาสดาจึงถูกส่งมาบอกมนุษย์ให้รู้ว่าในตัวของเขามีคุณสมบัติแห่งการให้อภัยอยู่และเขาควรจะเอาคุณสมบัติแห่งการให้อภัยนี้มาใช้เพื่อประโยชน์ของตัวเอง
ดังนั้น หากใครมายั่วให้เราโกรธหรือทำให้เราโมโห ก็ให้ถือว่านั่นคือโอกาสที่เราจะได้ใช้คุณสมบัติแห่งการให้อภัย

ลองคิดดูสิครับ ถ้าหากเรามีเงินอยู่ในกระเป๋า แต่ไม่มีสินค้าให้เราซื้อ เงินที่เรามีอยู่จะมีประโยชน์อะไรหากไม่ได้นำออกมาใช้
การให้อภัยคนที่ทำให้เราโกรธหรือคนที่ทำผิดจึงไม่ได้ทำให้เราเสียอะไรเลย มีแต่จะทำให้เราเกิดความสุขเหมือนกับคนที่มีเงินและได้ใช้เงินจับจ่ายซื้อของ
การให้อภัยจึงเป็นลักษณะทางศีลธรรมประการหนึ่งซึ่งทุกศาสดาถูกสั่งให้นำมาปฏิบัติและสอนผู้คน
?เจ้า(มุฮัมมัด)จงยึดถือไว้ซึ่งการให้อภัย และจงใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และจงผินหลังให้ผู้โฉดเขลาทั้งหลายเถิด? (กุรอาน 7:199)
การให้อภัยนอกจากจะเป็นผลดีต่อจิตใจแล้ว ยังเป็นผลดีต่อสุขภาพร่างกายด้วย ความจริงที่ได้จากการศึกษาวิจัย
จากการศึกษาวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ นักวิทยาศาสตร์อเมริกันได้พบว่าคนที่สามารถให้อภัยนั้นจะมีสุขภาพดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ดร.เฟดเดอริค ลัสคิน ผู้ได้รับปริญญาเอกทางด้านจิตวิทยาสุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและคณะของเขาได้ศึกษาคนจำนวน 259 คนที่อาศัยอยู่ในซานฟรานซิสโก โดยเชิญผู้เข้ารับการทดลองมาเข้าห้องศึกษาวิจัยนานหนึ่งชั่วโมงครึ่งเป็นจำนวน 6 ครั้งเพื่อฝึกผู้เข้ารับการทดลองในเรื่องการให้อภัยระหว่างการสนทนา
ผู้ที่เข้ารับการทดลองได้กล่าวว่าพวกเขาเป็นทุกข์น้อยลงหลังจากที่ให้อภัยคนที่ล่วงเกินพวกเขา การศึกษาวิจัยแสดงว่าคนที่ให้อภัยจะมีความรู้สึกที่ดีกว่า ไม่เพียงแค่ทางด้านอารมณ์เท่านั้น แต่ในทางร่างกายด้วย ตัวอย่างเช่น หลังจากการทดสอบแล้วได้มีการพบว่า อาการทางด้านจิตใจและร่างกายต่างๆ เช่น อาการปวดหลังอันเนื่องมาจากความเครียด อาการนอนไม่หลับและปวดท้องได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในตัวบุคคลเหล่านี้
ในหนังสือเรื่อง Forgive for Good (ให้อภัยเพื่อผลดี) ดร.เฟรดริค ลัสคิน ได้อธิบายถึงการให้อภัยว่าเป็นวิธีการบำบัดรักษาอย่างหนึ่งและเป็นความสุขซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้ว หนังสือเล่มนี้ได้อธิบายว่าการให้อภัยจะช่วยเสริมสร้างภาวะจิตใจที่ดี เช่น มีความหวัง มีความอดทนและมีความเชื่อมั่นในตนเองได้โดยการลดความโกรธ ความทุกข์ทรมาน ความกดดันและความเครียด ดร.ลัสคิน กล่าวว่าการเก็บความโกรธไว้เป็นสาเหตุให้มีผลทางร่างกายที่สามารถสังเกตได้ในตัวบุคคล เขากล่าวต่อไปว่า ?การเก็บความโกรธไว้นานๆหรือไม่ยอมคลายความโกรธนั้นจะเป็นตัวตั้งเธอร์โมสตัทภายในร่างกายของคุณ เมื่อคุณโกรธง่ายตลอดเวลา คุณก็จะไม่ยอมรับสิ่งที่เป็นปกติ ความโกรธจะทำให้สารประเภทอาดริเนลีนหลั่งออกมาเผาผลาญร่างกายและทำให้ความคิดไม่รอบคอบซึ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง?
นอกจากนี้แล้ว ดร.ลัสคิน ยังกล่าวว่าเมื่อร่างกายปล่อยเอนไซม์บางอย่างออกมาระหว่างที่โกรธและเครียด คลอเรสเตอรัลและระดับความดันของเลือดจะสูงขึ้นซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกายในระยะยาว ความสมดุลทางอารมณ์
ในนิตยสาร Healing Currents มีบทความเรื่องหนึ่งชื่อ ?การให้อภัย? ถูกตีพิมพ์ในฉบับเดือนกันยายน-ตุลาคม ค.ศ.1996 กล่าวว่าการโกรธใครคนหนึ่งหรือเรื่องหนึ่งจะทำให้เกิดผลเสียทางอารมณ์ขึ้นในตัวบุคคลและทำลายความสมดุลทางอารมณ์ของพวกเขาและแม้แต่สุขภาพทางด้านร่างกายของพวกเขาด้วยเช่นกัน บทความชิ้นนั้นยังกล่าวด้วยว่าคนที่โกรธมารู้ตัวทีหลังว่าความโกรธเป็นสิ่งที่สร้างความไม่สบายใจให้แก่เขาและเขาอยากจะทำให้มันดีขึ้น ดังนั้น พวกเขาจึงเริ่มให้อภัย นอกจากนี้แล้ว บทความชิ้นนั้นยังได้กล่าวว่าถึงแม้พวกเขาจะอดทน แต่ผู้คนก็ไม่ต้องการเสียเวลาอันมีค่าของชีวิตไปในความโกรธและความหวาดกังวล และชอบที่จะให้อภัยตัวเองและคนอื่น
ในงานศึกษาวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ศึกษาคนจำนวน 1,500 คนพบว่าความเครียดและอาการโรคจิตมีน้อยมากในผู้ที่มีศาสนา ดร.เฮอร์เบิร์ต เบนสัน ผู้ทำการศึกษาวิจัยชิ้นนี้อ้างถึงเรื่องการที่ศาสนาส่งเสริมการให้อภัยและได้กล่าวว่า ?การให้อภัยมีปรัชญาของมันอยู่.....เมื่อคุณให้อภัย มันก็จะทำให้คุณผ่อนคลาย?
ในบทความที่มีชื่อว่า Anger is Hostile to Your Heart (ความโกรธเป็นศัตรูต่อหัวใจของคุณ) ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสาร Harvard Gazette กล่าวว่าความโกรธเป็นอันตรายอย่างรุนแรงต่อหัวใจของคุณ นาย อินชิโร คาวาชิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางด้านการแพทย์และคณะทำงานของเขาได้สาธิตเรื่องนี้ด้วยการทดสอบต่างๆมากมายทางด้านวิทยาศาสตร์ จากผลของการศึกษา พวกเขาพบความจริงว่าคนแก่ที่ชอบหัวเสียอยู่บ่อยๆนั้นมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนที่อารมณ์สงบถึงสามเท่า นายคาวาชิกล่าวว่า ?ความเสี่ยงถึงสามเท่านี้เกี่ยวข้องกับระดับความโกรธที่สูงจนระเบิดออกมาในรูปของการทำลายสิ่งของและต้องการที่จะทำร้ายบางคนในการต่อสู้?
ผู้ศึกษาวิจัยเชื่อว่าการปล่อยฮอร์โมนความเครียด ความต้องการอ็อกซิเจนที่เพิ่มขึ้นโดยเซลล์กล้ามเนื้อของหัวใจและความเหนียวของเกล็ดเลือดที่เพิ่มขึ้นจนเป็นก้อนคือสิ่งที่อธิบายว่าความโกรธเพิ่มโอกาสทำให้หัวใจวายได้อย่างไร ยิ่งไปกว่านั้น ในตอนที่โกรธ ชีพจรจะเต้นเร็วกว่าปกติและทำให้เกิดความดันเลือดในเส้นเลือดสูงขึ้นซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจวายมากขึ้น ความป่วยไข้ทางร่างกายที่มีสาเหตุมาจากโรคทางจิต
นักศึกษาวิจัยหลายคนกล่าวว่าความโกรธและความเป็นศัตรูสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างโปรตีนที่ทำให้เลือดร้อนผ่าว วารสาร Psychosomatic Medicine ได้กล่าวว่าอารมณ์ฉุนเฉียวจะกระตุ้นให้มีการผลิตโปรตีนที่ร้อนผ่าวซึ่งจะมีผลทำให้เส้นเลือดแข็ง เป็นสาเหตุของโรคหัวใจและเป็นลม ศาสตราจารย์ เอ็ดวาร์ด ซูอาเรส แห่งศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยดุคในนอร์ธ แคโรไลนา ได้กล่าวว่าคนที่โกรธและเครียดจะมีโปรตีนอินเตอร์ลูคิน 6 (หรือ IL-6) สูง ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างไขมันสะสมในผนังเส้นเลือด ดร.ซูอาเรส กล่าวว่า นอกจากปัจจัยต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ความอ้วนและคอเลสเตอรอลสูงจะเป็นที่มาของโรคหัวใจแล้ว สภาพทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความโกรธและความเป็นศัตรูก็ยังเป็นสาเหตุได้เช่นกัน
ในอีกบทความหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า Anger Raise Risk of Heart Attack (ความโกรธทำให้เกิดความเสี่ยงต่อหัวใจวาย) ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ The Times กล่าวว่าการมีอารมณ์ฉุนเฉียวโกรธง่ายอาจทำให้หัวใจวายได้และคนหนุ่มที่ตอบสนองความเครียดโดยความโกรธมีโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจก่อนเวลาอันควรถึงสามเท่าและมีโอกาสที่จะหัวใจวายก่อนวัยอันควรถึงห้าเท่า นักวิทยาศาสตร์หลายคนที่มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอพกินส์ ในบัลติมอร์ รัฐแมรีแลนด์ ได้พบว่าคนที่มีอารมณ์ฉุนเฉียวง่ายมีความเสี่ยงต่อการหัวใจวายถึงแม้จะไม่มีประวัติครอบครัวว่าเป็นโรคหัวใจก็ตาม
จากการค้นคว้าที่มีอยู่ทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าความโกรธเป็นสภาพของจิตใจที่ทำร้ายสุขภาพของมนุษย์อย่างรุนแรง ในทางตรงกันข้าม การให้อภัยถึงแม้จะเป็นเรื่องยากที่คนจะปฏิบัติ แต่ก็เป็นสิ่งที่ดีและเป็นศีลธรรมอันประเสริฐที่ทำลายผลเสียจากความโกรธและทำให้บุคคลมีชีวิตที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ แน่นอน การให้อภัยเป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมที่จะทำให้คนอยู่อย่างมีความสุขและเป็นคุณธรรมอันดีที่ทุกคนควรจะนำมาปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม เป้าหมายที่แท้จริงของการให้อภัยเหนืออื่นใดนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อความพึงพระทัยของพระผู้เป็นเจ้า ลักษณะของศีลธรรมที่ถูกประทานมาในคัมภีร์กุรอานและผลดีที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ให้เห็นนี้เป็นแค่เพียงหนึ่งในแหล่งของความลี้ลับของความรู้ที่มีอยู่ในคัมภีร์กุรอานเท่านั้น
บทความโดยอาจารย์บรรจง บินกาซัน โครงการอบรมผู้สนใจอิสลาม

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ศอดาเกาะฮฺสิ่งที่ตนรัก

โต๊ะครูคนหนึ่งเป็นผู้มีความเก่งกาจรอบรุ้ในเรื่องการบรรยายธรรม วันหนึ่งโต๊ะครูกำลังสอนชาวบ้านในเรื่องของการทำศอดาเกาะฮฺ

โต๊ะครู : จำไว้นะพวกเราหากจะทำศอดาเกาะฮฺแล้วให้เลือกทำในสิ่งที่ดีที่สุด

เป็นของที่เรารักที่สุดจะได้บุญได้กุศลแรงทีเดียว

ชาวบ้านสงบฟังอย่างซาบซึ้งตรึงใจ ส่วนภรรยาโต๊ะครูก็นั่งฟังอยู่หลังม่าน

วันหนึ่งโต๊ะครูออกไปทำธุระนอกบ้าน เผอิยมีมีคนยากจนคนหนึ่งมาขอทานศอดาเกาะฮฺที่บ้านโต๊ะครู ภรรยาโต๊ะครูจึงมอบนกเขาใหญ่ที่โต๊ะครูรักและหวงแหนที่สุดให้ไปกรงหนึ่ง

เมื่อโต๊ะครูกลับมาถึงบ้านพร้อมกับอาหารนก

โต๊ะครู : แม๊ะ...! ไหนนกของบังล่ะ??

ภรรยา : เดะทำศอดาเกาะฮฺให้เขาไปแล้วจ๊ะ..

โต๊ะครู : ลา..........อิลาฮะอิลลัลลอออฮฺ.....นกดีๆอย่างนั้นให้เขาไปทำไม?

โต๊ะครูอารมณ์เสียทันตาเห็น

ภรรยา : ก็บังบอกว่าหากจะศอดาเกาะฮฺให้ทำสิ่งที่ดีที่สุดรักที่สุดไงล่ะ ก็บังรักนกตัวนั้นมาก

ไม่ใช่เรอะ!!!

โต๊ะครู : อัสตัฆฟิรุลลอฮฺ อีแม๊ะเอ้ย ที่กูบอกน่ะ เผื่อเขาจะศอดาเกาะฮฺให้กู....!

ภรรยา : .......................!!!!!!!!!!!!??????????

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2550

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

คัมภีร์อัลกุรอาน ( القرآن الكريم )


คัมภีร์อัลกุรอาน
คัมภีร์อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ศาสนาที่ชาวอิสลามเชื่อกันว่า มีความศักดิ์สิทธิ์มาก เพราะไม่ได้เกิดจากความคิดมนุษย ์แต่ เป็นพระวจนะอันศุกดิ์สิทธื?ที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้มนุษย์โดยผ่านทางนบีฯมุฮัมมัด (ศ็อลฯ)
คำว่า “ กุรอาน ” นี้ แปลว่า “ การอ่าน ” ซึ่งน่าจะได้มาจากคำแรกที่ปรากฏในบทแรกที่ว่า“ จงอ่านด้วยพระนามของพระผู้อภิบาลของเจ้า...... ”
คัมภีร์นี้เชื่อกันว่า เป็นคำสอนครั้งสุดท้ายและเป็นการปิดฉากคัมภีร์ทั้งหลายที่อัลลอฮ์ประทานมาเป็นระยะ นับตั้งแต่คัมภีร์เตารอดหรือโตราห์ ( The Old Testament ) ซึ่งพระองค์ทรงประทานให้แก้นบีมูซา (โมเสส) คัมภีร์ซาบู ทรงประทานให้แก่นบีดาวูด ( David ) คัมภีร์อินญีล (The New Testament ) ทรงประทานให้แก่นบีอีซา (พระเยซู) และคัมภีร์อัลกุรอาน ทรงประทานให้แก่นบีฯ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ)
การประทานคัมภีร์ให้แก่ศาสนทูตเหล่านี้กระทำโดยการลงวะหี้ย์ ซึ่งมีทั้งการดลใจที่เรียกว่า “ วะหี้ย์ เคาะฟียะ ”ส่วนการฝันหรือการได้ยินเสียงหรือเห็นภายในขณะที่ตกอยู่ในภวังค์เรียก “ วะหี้ย์ บินจะรออิฮีจาบ ”ส่วนวะหี้ย์ที่เป็นอัลกุรอานนั้นเรียกว่า “ วะหี้ย์อัล มัตลุว์ ” คือ ที่ถูกกล่าวหรือบอกให้ฟังเป็นถ้อยคำโดยท่านญิบรีลบอกแก่นบีฯ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นวะหี้ย์ที่อัลลอฮ์ทรงมีแก่ศาสดาโดยเฉพาะและเป็นครั้งสุดท้าย ต่อจากนี้ไปจะไม่มีการลงวะหี้ย์อีก ชาวมุสลิมจึงเชื่อว่านบีฯ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นศาสดาสุดท้ายของโลก
คัมภีร์อัลกุรอานต่างจากคัมภีร์เล่มอื่น ๆ ตรงที่คัมภีร์เหล่านั้น เมื่อมีการลงวะหี้ย์เพียงครั้งเดียวก็จบแล้ว แต่อัลกุรอานนี้มีการลงวะหี้ย์เป็นระยะ ๆ ตลอดเวลา 23 ปี การลงมาแต่ละครั้งเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้นแก่กลุ่มชนอย่างกะทันหัน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไปของมุสลิม เมื่อนบีฯ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้รับโองการจากอัลลอฮ์แต่ละครั้ง บุคคลที่ใกล้ชิดจะจดจำและบันทึกไว้ บุคคลแรกที่ท่านใกล้ชิด คือ อบูบักร์ อุษมาน และอาลี เป็นต้น ทั้ง 3 ท่านนี้ต่อมาได้เป็นคอลีฟะห์ (ผู้นำทางศาสนาและด้านการปกครองของอิสลาม)
แม้นว่าผู้ท่องจำคัมภีร์อัลกุรอานจะมีมากก็ตาม แต่คอลีฟะห์อบูบักร์ (ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของศาสดา) ก็มิได้ประมาทในเรื่องนี้ ดังนั้น หลังจากนบีฯ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้สิ้นชีวิตไป 6 เดือน คอลีฟะห์อบูบักร์ได้มอบให้ซัยต์ อิบนิษาบิต พร้อมสาวกคนอื่น ๆ ดำเนินการรวบรวมจากบันทึกต่าง ๆที่มีอยู่และจากการท่องจำ เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว จึงนำเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ อันประกิบด้วยสาวกและผู้ใกล้ชิดของศาสดาช่วยกันตรวจสอบจนถูกต้อง นับว่าเป็นการรวบรวมบันทึกคัมภีร์อัลกุรอานให้เป็นรูปเล่มเป็นครั้งแรก จนกระทั่งในสมัยของคอลีฟะห์อุษมานได้มีการคัดลอกต้นฉบับแจกจ่ายไปยังเมืองที่นับถือศาสนาอิสลาม จึงนับได้ว่าการสังคายนาคัมภีร์อัลกุรอานนี้มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น นอกนั้นเป็นเพียงการถ่ายทอดแปลออกมาเป็นภาษาต่าง ๆ สำหรับชาวมุสลิมต่างภาษาได้เข้าใจความหมาย
ภาษาที่ใช้ในคัมภีร์อัลกุรอานเป็นภาษาอาหรับและเป็นภาษาเดียวเท่านั้นที่ชาวมุสลิมเชื่อว่าพระเจ้าได้ทรงประทานมาโดยเฉพาะ ส่วนภาษาอื่น ๆ เป็นเพียงการแปลความหมายมาจากคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์เล่มนี้มีทั้งหมด 114 บทหรือซูเราะ บทที่อัลลอฮ์ทรงประทานให้ที่นครมักกะฮ์เป็นเวลาถึง 13 ปีนั้นมี 93 บท และที่นครอัลมาดีนะฮ์ อัลลอฮ์ทรงประทานวะหี้ย์ลงมาอีก 10 ปี มี 21 บท เข้าแบ่งเป็นวรรคเป็นโองการ (อายะห์) มีประมาณ 6666 อายะห์
บทที่ได้รับวะหี้ย์ที่มักกะฮ์ เรียกว่า “ มักกียะฮ์ ” เป็นโองการที่ได้ถูกประทานลงมาก่อนการ “ ฮิจญเราะญ์ ” หรือการอพยพหนีจากมักกะฮ์ไปเมืองอัลมาดีนะฮ์ บทนี้ไม่ยาวมากนัก ได้กล่าวถึงเรื่องราวชนชาติต่าง ๆ ตลอดจนความเสื่อมโทรมและความล่มจมของชาตินั้น ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความเป็นเอกภาพของอัลลอฮ์ การชักชวนให้ประกอบความดีละเลยความประพฤติชั่ว และการทำละหมาด
สำหรับบทที่ได้รับวะหี้ย์ที่อัลมาดีนะฮ์ เรียกว่า “ มะดะนียะฮ์ ” เป็นโองการที่ถูกประทานลงมาหลัง “ ฮิจญเราะฮ์ ” บทนี้ยาวมากเพราะเป็นประมวลกฎหมายและหลักการต่าง ๆ เช่น การบำเพ็ยฮัจญ์ การออกซะกาต การถือศีลอด การซื้อขาย การหย่าร้าง และหลักการต่าง ๆ ที่จะเป็นธรรมนูญชีวิตของมุสลิม
ดังนั้นสาระสำคัญในคัมภีร์อัลกุรอานจึงมีทั้งศาสนา ปรัชญา ประวัติศาสตร์ สุขศึกษา รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ คัมภีร์อัลกุรอานจึงเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในทางศาสนาอิสลามจะใช้คัมภีร์อัลกุรอานเป็นแนวทางในการตัดสินปัญหา ความลึกซึ้งในภาษามีมากจนปัจจุบันนี้ยังไม่มีปราชญ์คนใดเขียนได้ดีเท่า และในคัมภีร์ก็ไม่มีตอนใดที่ขัดแย้งกันเลย ทั้ง ๆ ที่นบีฯ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ไม่มีความสามารถทั้งในการอ่านและการเขียนหนังสือ .

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การประกอบพิธีฮัจย์ ( الحجّ )



การประกอบพิธีฮัจย์ ( الحجّ )


การประกอบพิธีฮัจย์ ในชีวิตหนึ่ง มุสลิมจะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย อย่างน้อยหนึ่งครั้ง เป็นข้อบังคับสำหรับทุกคนที่มีความสามารถพอจะเดินทางไปได้ และไม่ทำให้ครอบครัวเดือดร้อน ขณะเดินทาง กำหนดเวลาไปทำฮัจย์ พิธีจะทำในเดือน ซุ้ล - ฮิจญะห์ ของแต่ละปี หากเดินทางไปในเวลาที่มิใช่ฤดูกาลฮัจย์ จะเรียกศาสนกิจนั้นว่า อุมเราะฮ์ สถานที่ประกอบพิธีฮัจย์ มีเพียงแห่งเดียว อยู่ที่ กะอ์บะฮ์ หรือบัยตุลลอฮ์ ในเมืองมักกะฮ์ กะอ์บะฮ์ คือ สิ่งก่อสร้างรูปทรงสี่เหลี่ยม (อะกะบะ แปลว่า นูนขึ้นพองขึ้น) ที่ท่านนบีอิบรอฮิม และ นบีอิสมาอีล บุตรชายช่วยกันสร้างขึ้น จากรากเดิมที่มีเหลืออยู่ตามที่ได้รับคำสั่งจากพระเจ้า อัลลอฮ์ (ซุบห์ ฯ) เมื่อประมาณ ๒๐๐ ปี ก่อนคริสกาล กะอ์บะฮ์ มีชื่อเรียกอยู่หลายอย่าง ที่ปรากฎอยู่ในกุรอาน เช่น อัล - บัยตุลหะรอม อัล - มัสญีดุลหะรอม บัยตุลอ์ติก แต่ชื่อที่รู้จักกันมากที่สุดคือ บัยตุลลอฮ์ แปลว่า บ้านของอัลลอฮ์ พิธีฮัจย์ มิได้เพิ่งมีปฎิบัติในสมัยของนบีมูฮำมัด (ศ็อล ฯ) หากแต่มีมาตั้งแต่สมัยนบีฮิบรอฮิม ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของท่าน แต่ช่วงหลัง นบีอิรอฮิม และอีสมาอีล มาก่อนถึงท่านนบีมูฮำมัด จะได้รับจากอิสลามจากอัลลอฮ์ บ้านของอัลลอฮ์แห่งนี้ได้ถูกเปลี่ยนเจตนารมณ์ จากผู้หลงผิด กลายเป็นสถานที่ชุมนุมรูปปั้นเทพเจ้าต่าง ๆ กว่า ๓๐๐ รูป และการกระทำอันน่ารังเกียจ ทุ่งอารอฟะห์ มีลักษณะเป็นทุ่งกว้างในหินผากว้างใหญ่สูงประมาณ ๓๐๐ ฟุต อยู่ห่างจากเมืองมักกะฮ์ประมาณ ๒๕ กิโลเมตร เป็นสถานที่ที่ผู้ประกอบพิธีฮัจย์ทั้งหมด (ฮุจญาด) จะไปร่วมชุมนุมกันในวันที่เก้าของเดือนซุล - ฮิจญะห์ ตั้งแต่เช้าถึงก่อนดวงอาทิตย์ตก เป็นที่เริ่มแรกของพิธีฮัจย์ หลังจากนุ่งผ้าเอี๊ยะราม (ชุดขาวจากผ้าสองผืน) แล้ว ในการค้างแรมที่อารอฟะห์นี้ ผู้ไปประกอบพิธีจะกางเต้นท์อยู่ โดยมีธงชาติของประเทศตนติดไว้ ทุ่งแห่งนี้เป็นที่ชุมนุมของคนจากที่ต่าง ๆ ทั่วโลกมาพักอยู่ด้วยความสงบ จึงเรียกการปฏิบัตินี้ว่า วูกูฟ (หยุดสงบนิ่ง) เสร็จจากวูกูฟ ผู้ไปประกอบพิธีจะเดินทางไปยังมีนา เพื่อค้างแรมที่นั่นสามวันสามคืน เพื่อขว้างเสาหิน แต่เนื่องจากการเดินทางอยู่ระหว่างกลางคืน ท่านนบีจึงค้างคืนที่ทุ่งมุสตะลิฟะห์หนึ่งคืน จึงออกเดินทางไปทุ่งมีนาในตอนเช้าของวันที่สิบ สำหรับมุสลิมที่ไม่ได้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ถือว่าวันรุ่งขึ้นจากการวูกูฟของผู้ไปประกอบพิธีฮัจย์คือ วันอีดิ้นอัฏฮาหรือที่ชาวไทยเรียกว่า ออกฮัจญี ณ ทุ่งอารอฟะห์แห่งนี้คือสถานที่ท่านนบีมูฮำมัดแสดงการกล่าวอบรมในที่ชุมนุมเป็นครั้งสุดท้าย การแต่งกายในพิธีฮัจย์ ผู้ชายทุกคนจะแต่งกายด้วยผ้าขาวสองชิ้นที่ไม่มีการเย็บ ส่วนหญิงจะแต่งกายด้วยชุดที่มิดชิดไม่มีเครื่องประดับใด ๆ ทั้งสิ้น หลักข้อแรกของการบำเพ็ญฮัจย์ได้แก่เอี๊ยะราม จากมีกอต (เขตที่กำหนดให้นุ่งเอียะราม) ด้วยตั้งใจจะบำเพ็ญฮัจย์จากเขตสถานที่แห่งหนึ่งเรียกว่า ยะลัมลัม (ที่แสดงเขตให้นุ่งเอี๊ยะห์รามของผู้ที่เดินทางไปจากภาคพื้นเอเซีย) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองฮิดดะฮ์ ประมาณ ๖๓ กิโลเมตร การประกอบพิธี ตั้งแต่เริ่มนุ่งเอี๊ยะราม จนถอดเอี๊ยะรามเมื่อเสร็จพิธี ผู้ประกอบพิธีฮัจย์จะเริ่มกล่าวสรรเสริญด้วยภาษาอาหรับว่า"ลันปัยกัลลอ ฮุมมะลับปัยกะ ลาซารีกะลัก แปลว่า อัลลอฮ์ ข้า ฯ ขอรับคำเชิญของท่าน ไม่มีผู้ใดเทียบเท่าท่าน" ขั้นตอนการประกอบพิธีเป็นไปตามลำดับคือการนุ่งเอี๊ยะราม การวูกูฟที่ทุ่งอารอฟะห์ การค้างแรมที่ทุ่งมุสตะลิฟะห์หนึ่งคืน แล้วเดินทางไปทุ่งมีนาสามคืนเพื่อขว้างเสาหิน การฏอวาฟ (เดินเวียนซ้ายรอบปัยตุลลอฮ์เจ็ดรอบ) สะแอ (การเดินและวิ่งกลับไปมาระหว่างอัศซอฟกับอัลมัรฮ์เจ็ดเที่ยว) การทำกุรปั่น หรือเชือดสัตว์เป็นพลี สำหรับผู้ที่มีความสามารถหรือการถือศีลอดทดแทนเจ็ดวัน โกนผมหรือตัดผมเสร็จแล้วจึงถอดชุดเอี๊ยะราม.

ซากาต ( الزكاة )



การจ่ายซากาต ( الزكاة )

การจ่ายซากาต ความหมายของซากาต...
ซากาต
คือ ทรัพย์สินตามอัตราส่วนที่จะต้องนำมาบริจาค ซึ่งมุสลิมผู้มีทรัพย์ครบตามพิกัด ที่ศาสนากำหนดไว้ จะต้องคำนวณอัตราส่วนของซากาต นำมาบริจาคตามประเภทของซากาตนั้น ๆ สินซากาต ทรัพย์ที่จะนำมาบริจาคซากาต แบ่งออกเป็นหลายประเภทคือ - ซากาตพืชผล เช่น ข้าว เมื่อผลิตได้ ๖๕๐ กิโลกรัม ต้องจ่ายซากาตร้อยละสิบ สำหรับการเพาะปลูกที่อาศัยฝน และร้อยละห้า สำหรับการเพาะปลูก ที่ใช้น้ำจากแรงงาน - ทองคำ เงิน และเงินตรา เมื่อมีจำนวนเหลือใช้เท่าทองคำหนัก ๕.๖ บาท เก็บไว้รอบปี ก็ต้องบริจาคออกไป ร้อยละสองครึ่ง จากทั้งหมดที่มีอยู่- รายได้จากการค้า เจ้าของสินค้าต้องคิดหักในอัตราร้อยละสองครึ่ง ในทุกรอบปี บริจาคเป็นซากาต ทั้งนี้ทรัพย์สินต้องไม่น้อยกว่า เทียบน้ำหนักทองคำ ๔.๖๗ บาท - ขุมทรัพย์เหมืองแร่ เมื่อขุดได้ จะต้องจ่ายซากาต ร้อยละยี่สิบ หรือหนึ่งในห้า จากทรัพย์ทั้งหมดที่ได้- ปศุสัตว์ ผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ จะต้องบริจาคในอัตราที่แน่นอนเป็นซากาต เช่น มี วัว ควาย ครบ ๓๐ ตัว ให้บริจาค ลูกวัว ควาย อายุ ๑ ปี ๑ ตัว ครบ ๑๐๐ ตัว บริจาคลูกวัวควาย อายุ ๒ ปี ๑ ตัว และอายุ ๑ ปี ๒ ตัว เป็นต้นผู้มีสิทธิรับซากาต ตามที่ระบุในกุรอานมีทั้งหมด เจ็ดประเภทคือ