IslamicFinder photo gallery banner

Selamat Hari Raya Idil Adha 1428 h..

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

คัมภีร์อัลกุรอาน ( القرآن الكريم )


คัมภีร์อัลกุรอาน
คัมภีร์อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ศาสนาที่ชาวอิสลามเชื่อกันว่า มีความศักดิ์สิทธิ์มาก เพราะไม่ได้เกิดจากความคิดมนุษย ์แต่ เป็นพระวจนะอันศุกดิ์สิทธื?ที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้มนุษย์โดยผ่านทางนบีฯมุฮัมมัด (ศ็อลฯ)
คำว่า “ กุรอาน ” นี้ แปลว่า “ การอ่าน ” ซึ่งน่าจะได้มาจากคำแรกที่ปรากฏในบทแรกที่ว่า“ จงอ่านด้วยพระนามของพระผู้อภิบาลของเจ้า...... ”
คัมภีร์นี้เชื่อกันว่า เป็นคำสอนครั้งสุดท้ายและเป็นการปิดฉากคัมภีร์ทั้งหลายที่อัลลอฮ์ประทานมาเป็นระยะ นับตั้งแต่คัมภีร์เตารอดหรือโตราห์ ( The Old Testament ) ซึ่งพระองค์ทรงประทานให้แก้นบีมูซา (โมเสส) คัมภีร์ซาบู ทรงประทานให้แก่นบีดาวูด ( David ) คัมภีร์อินญีล (The New Testament ) ทรงประทานให้แก่นบีอีซา (พระเยซู) และคัมภีร์อัลกุรอาน ทรงประทานให้แก่นบีฯ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ)
การประทานคัมภีร์ให้แก่ศาสนทูตเหล่านี้กระทำโดยการลงวะหี้ย์ ซึ่งมีทั้งการดลใจที่เรียกว่า “ วะหี้ย์ เคาะฟียะ ”ส่วนการฝันหรือการได้ยินเสียงหรือเห็นภายในขณะที่ตกอยู่ในภวังค์เรียก “ วะหี้ย์ บินจะรออิฮีจาบ ”ส่วนวะหี้ย์ที่เป็นอัลกุรอานนั้นเรียกว่า “ วะหี้ย์อัล มัตลุว์ ” คือ ที่ถูกกล่าวหรือบอกให้ฟังเป็นถ้อยคำโดยท่านญิบรีลบอกแก่นบีฯ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นวะหี้ย์ที่อัลลอฮ์ทรงมีแก่ศาสดาโดยเฉพาะและเป็นครั้งสุดท้าย ต่อจากนี้ไปจะไม่มีการลงวะหี้ย์อีก ชาวมุสลิมจึงเชื่อว่านบีฯ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นศาสดาสุดท้ายของโลก
คัมภีร์อัลกุรอานต่างจากคัมภีร์เล่มอื่น ๆ ตรงที่คัมภีร์เหล่านั้น เมื่อมีการลงวะหี้ย์เพียงครั้งเดียวก็จบแล้ว แต่อัลกุรอานนี้มีการลงวะหี้ย์เป็นระยะ ๆ ตลอดเวลา 23 ปี การลงมาแต่ละครั้งเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้นแก่กลุ่มชนอย่างกะทันหัน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไปของมุสลิม เมื่อนบีฯ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้รับโองการจากอัลลอฮ์แต่ละครั้ง บุคคลที่ใกล้ชิดจะจดจำและบันทึกไว้ บุคคลแรกที่ท่านใกล้ชิด คือ อบูบักร์ อุษมาน และอาลี เป็นต้น ทั้ง 3 ท่านนี้ต่อมาได้เป็นคอลีฟะห์ (ผู้นำทางศาสนาและด้านการปกครองของอิสลาม)
แม้นว่าผู้ท่องจำคัมภีร์อัลกุรอานจะมีมากก็ตาม แต่คอลีฟะห์อบูบักร์ (ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของศาสดา) ก็มิได้ประมาทในเรื่องนี้ ดังนั้น หลังจากนบีฯ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้สิ้นชีวิตไป 6 เดือน คอลีฟะห์อบูบักร์ได้มอบให้ซัยต์ อิบนิษาบิต พร้อมสาวกคนอื่น ๆ ดำเนินการรวบรวมจากบันทึกต่าง ๆที่มีอยู่และจากการท่องจำ เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว จึงนำเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ อันประกิบด้วยสาวกและผู้ใกล้ชิดของศาสดาช่วยกันตรวจสอบจนถูกต้อง นับว่าเป็นการรวบรวมบันทึกคัมภีร์อัลกุรอานให้เป็นรูปเล่มเป็นครั้งแรก จนกระทั่งในสมัยของคอลีฟะห์อุษมานได้มีการคัดลอกต้นฉบับแจกจ่ายไปยังเมืองที่นับถือศาสนาอิสลาม จึงนับได้ว่าการสังคายนาคัมภีร์อัลกุรอานนี้มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น นอกนั้นเป็นเพียงการถ่ายทอดแปลออกมาเป็นภาษาต่าง ๆ สำหรับชาวมุสลิมต่างภาษาได้เข้าใจความหมาย
ภาษาที่ใช้ในคัมภีร์อัลกุรอานเป็นภาษาอาหรับและเป็นภาษาเดียวเท่านั้นที่ชาวมุสลิมเชื่อว่าพระเจ้าได้ทรงประทานมาโดยเฉพาะ ส่วนภาษาอื่น ๆ เป็นเพียงการแปลความหมายมาจากคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์เล่มนี้มีทั้งหมด 114 บทหรือซูเราะ บทที่อัลลอฮ์ทรงประทานให้ที่นครมักกะฮ์เป็นเวลาถึง 13 ปีนั้นมี 93 บท และที่นครอัลมาดีนะฮ์ อัลลอฮ์ทรงประทานวะหี้ย์ลงมาอีก 10 ปี มี 21 บท เข้าแบ่งเป็นวรรคเป็นโองการ (อายะห์) มีประมาณ 6666 อายะห์
บทที่ได้รับวะหี้ย์ที่มักกะฮ์ เรียกว่า “ มักกียะฮ์ ” เป็นโองการที่ได้ถูกประทานลงมาก่อนการ “ ฮิจญเราะญ์ ” หรือการอพยพหนีจากมักกะฮ์ไปเมืองอัลมาดีนะฮ์ บทนี้ไม่ยาวมากนัก ได้กล่าวถึงเรื่องราวชนชาติต่าง ๆ ตลอดจนความเสื่อมโทรมและความล่มจมของชาตินั้น ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความเป็นเอกภาพของอัลลอฮ์ การชักชวนให้ประกอบความดีละเลยความประพฤติชั่ว และการทำละหมาด
สำหรับบทที่ได้รับวะหี้ย์ที่อัลมาดีนะฮ์ เรียกว่า “ มะดะนียะฮ์ ” เป็นโองการที่ถูกประทานลงมาหลัง “ ฮิจญเราะฮ์ ” บทนี้ยาวมากเพราะเป็นประมวลกฎหมายและหลักการต่าง ๆ เช่น การบำเพ็ยฮัจญ์ การออกซะกาต การถือศีลอด การซื้อขาย การหย่าร้าง และหลักการต่าง ๆ ที่จะเป็นธรรมนูญชีวิตของมุสลิม
ดังนั้นสาระสำคัญในคัมภีร์อัลกุรอานจึงมีทั้งศาสนา ปรัชญา ประวัติศาสตร์ สุขศึกษา รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ คัมภีร์อัลกุรอานจึงเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในทางศาสนาอิสลามจะใช้คัมภีร์อัลกุรอานเป็นแนวทางในการตัดสินปัญหา ความลึกซึ้งในภาษามีมากจนปัจจุบันนี้ยังไม่มีปราชญ์คนใดเขียนได้ดีเท่า และในคัมภีร์ก็ไม่มีตอนใดที่ขัดแย้งกันเลย ทั้ง ๆ ที่นบีฯ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ไม่มีความสามารถทั้งในการอ่านและการเขียนหนังสือ .

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การประกอบพิธีฮัจย์ ( الحجّ )



การประกอบพิธีฮัจย์ ( الحجّ )


การประกอบพิธีฮัจย์ ในชีวิตหนึ่ง มุสลิมจะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย อย่างน้อยหนึ่งครั้ง เป็นข้อบังคับสำหรับทุกคนที่มีความสามารถพอจะเดินทางไปได้ และไม่ทำให้ครอบครัวเดือดร้อน ขณะเดินทาง กำหนดเวลาไปทำฮัจย์ พิธีจะทำในเดือน ซุ้ล - ฮิจญะห์ ของแต่ละปี หากเดินทางไปในเวลาที่มิใช่ฤดูกาลฮัจย์ จะเรียกศาสนกิจนั้นว่า อุมเราะฮ์ สถานที่ประกอบพิธีฮัจย์ มีเพียงแห่งเดียว อยู่ที่ กะอ์บะฮ์ หรือบัยตุลลอฮ์ ในเมืองมักกะฮ์ กะอ์บะฮ์ คือ สิ่งก่อสร้างรูปทรงสี่เหลี่ยม (อะกะบะ แปลว่า นูนขึ้นพองขึ้น) ที่ท่านนบีอิบรอฮิม และ นบีอิสมาอีล บุตรชายช่วยกันสร้างขึ้น จากรากเดิมที่มีเหลืออยู่ตามที่ได้รับคำสั่งจากพระเจ้า อัลลอฮ์ (ซุบห์ ฯ) เมื่อประมาณ ๒๐๐ ปี ก่อนคริสกาล กะอ์บะฮ์ มีชื่อเรียกอยู่หลายอย่าง ที่ปรากฎอยู่ในกุรอาน เช่น อัล - บัยตุลหะรอม อัล - มัสญีดุลหะรอม บัยตุลอ์ติก แต่ชื่อที่รู้จักกันมากที่สุดคือ บัยตุลลอฮ์ แปลว่า บ้านของอัลลอฮ์ พิธีฮัจย์ มิได้เพิ่งมีปฎิบัติในสมัยของนบีมูฮำมัด (ศ็อล ฯ) หากแต่มีมาตั้งแต่สมัยนบีฮิบรอฮิม ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของท่าน แต่ช่วงหลัง นบีอิรอฮิม และอีสมาอีล มาก่อนถึงท่านนบีมูฮำมัด จะได้รับจากอิสลามจากอัลลอฮ์ บ้านของอัลลอฮ์แห่งนี้ได้ถูกเปลี่ยนเจตนารมณ์ จากผู้หลงผิด กลายเป็นสถานที่ชุมนุมรูปปั้นเทพเจ้าต่าง ๆ กว่า ๓๐๐ รูป และการกระทำอันน่ารังเกียจ ทุ่งอารอฟะห์ มีลักษณะเป็นทุ่งกว้างในหินผากว้างใหญ่สูงประมาณ ๓๐๐ ฟุต อยู่ห่างจากเมืองมักกะฮ์ประมาณ ๒๕ กิโลเมตร เป็นสถานที่ที่ผู้ประกอบพิธีฮัจย์ทั้งหมด (ฮุจญาด) จะไปร่วมชุมนุมกันในวันที่เก้าของเดือนซุล - ฮิจญะห์ ตั้งแต่เช้าถึงก่อนดวงอาทิตย์ตก เป็นที่เริ่มแรกของพิธีฮัจย์ หลังจากนุ่งผ้าเอี๊ยะราม (ชุดขาวจากผ้าสองผืน) แล้ว ในการค้างแรมที่อารอฟะห์นี้ ผู้ไปประกอบพิธีจะกางเต้นท์อยู่ โดยมีธงชาติของประเทศตนติดไว้ ทุ่งแห่งนี้เป็นที่ชุมนุมของคนจากที่ต่าง ๆ ทั่วโลกมาพักอยู่ด้วยความสงบ จึงเรียกการปฏิบัตินี้ว่า วูกูฟ (หยุดสงบนิ่ง) เสร็จจากวูกูฟ ผู้ไปประกอบพิธีจะเดินทางไปยังมีนา เพื่อค้างแรมที่นั่นสามวันสามคืน เพื่อขว้างเสาหิน แต่เนื่องจากการเดินทางอยู่ระหว่างกลางคืน ท่านนบีจึงค้างคืนที่ทุ่งมุสตะลิฟะห์หนึ่งคืน จึงออกเดินทางไปทุ่งมีนาในตอนเช้าของวันที่สิบ สำหรับมุสลิมที่ไม่ได้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ถือว่าวันรุ่งขึ้นจากการวูกูฟของผู้ไปประกอบพิธีฮัจย์คือ วันอีดิ้นอัฏฮาหรือที่ชาวไทยเรียกว่า ออกฮัจญี ณ ทุ่งอารอฟะห์แห่งนี้คือสถานที่ท่านนบีมูฮำมัดแสดงการกล่าวอบรมในที่ชุมนุมเป็นครั้งสุดท้าย การแต่งกายในพิธีฮัจย์ ผู้ชายทุกคนจะแต่งกายด้วยผ้าขาวสองชิ้นที่ไม่มีการเย็บ ส่วนหญิงจะแต่งกายด้วยชุดที่มิดชิดไม่มีเครื่องประดับใด ๆ ทั้งสิ้น หลักข้อแรกของการบำเพ็ญฮัจย์ได้แก่เอี๊ยะราม จากมีกอต (เขตที่กำหนดให้นุ่งเอียะราม) ด้วยตั้งใจจะบำเพ็ญฮัจย์จากเขตสถานที่แห่งหนึ่งเรียกว่า ยะลัมลัม (ที่แสดงเขตให้นุ่งเอี๊ยะห์รามของผู้ที่เดินทางไปจากภาคพื้นเอเซีย) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองฮิดดะฮ์ ประมาณ ๖๓ กิโลเมตร การประกอบพิธี ตั้งแต่เริ่มนุ่งเอี๊ยะราม จนถอดเอี๊ยะรามเมื่อเสร็จพิธี ผู้ประกอบพิธีฮัจย์จะเริ่มกล่าวสรรเสริญด้วยภาษาอาหรับว่า"ลันปัยกัลลอ ฮุมมะลับปัยกะ ลาซารีกะลัก แปลว่า อัลลอฮ์ ข้า ฯ ขอรับคำเชิญของท่าน ไม่มีผู้ใดเทียบเท่าท่าน" ขั้นตอนการประกอบพิธีเป็นไปตามลำดับคือการนุ่งเอี๊ยะราม การวูกูฟที่ทุ่งอารอฟะห์ การค้างแรมที่ทุ่งมุสตะลิฟะห์หนึ่งคืน แล้วเดินทางไปทุ่งมีนาสามคืนเพื่อขว้างเสาหิน การฏอวาฟ (เดินเวียนซ้ายรอบปัยตุลลอฮ์เจ็ดรอบ) สะแอ (การเดินและวิ่งกลับไปมาระหว่างอัศซอฟกับอัลมัรฮ์เจ็ดเที่ยว) การทำกุรปั่น หรือเชือดสัตว์เป็นพลี สำหรับผู้ที่มีความสามารถหรือการถือศีลอดทดแทนเจ็ดวัน โกนผมหรือตัดผมเสร็จแล้วจึงถอดชุดเอี๊ยะราม.

ซากาต ( الزكاة )



การจ่ายซากาต ( الزكاة )

การจ่ายซากาต ความหมายของซากาต...
ซากาต
คือ ทรัพย์สินตามอัตราส่วนที่จะต้องนำมาบริจาค ซึ่งมุสลิมผู้มีทรัพย์ครบตามพิกัด ที่ศาสนากำหนดไว้ จะต้องคำนวณอัตราส่วนของซากาต นำมาบริจาคตามประเภทของซากาตนั้น ๆ สินซากาต ทรัพย์ที่จะนำมาบริจาคซากาต แบ่งออกเป็นหลายประเภทคือ - ซากาตพืชผล เช่น ข้าว เมื่อผลิตได้ ๖๕๐ กิโลกรัม ต้องจ่ายซากาตร้อยละสิบ สำหรับการเพาะปลูกที่อาศัยฝน และร้อยละห้า สำหรับการเพาะปลูก ที่ใช้น้ำจากแรงงาน - ทองคำ เงิน และเงินตรา เมื่อมีจำนวนเหลือใช้เท่าทองคำหนัก ๕.๖ บาท เก็บไว้รอบปี ก็ต้องบริจาคออกไป ร้อยละสองครึ่ง จากทั้งหมดที่มีอยู่- รายได้จากการค้า เจ้าของสินค้าต้องคิดหักในอัตราร้อยละสองครึ่ง ในทุกรอบปี บริจาคเป็นซากาต ทั้งนี้ทรัพย์สินต้องไม่น้อยกว่า เทียบน้ำหนักทองคำ ๔.๖๗ บาท - ขุมทรัพย์เหมืองแร่ เมื่อขุดได้ จะต้องจ่ายซากาต ร้อยละยี่สิบ หรือหนึ่งในห้า จากทรัพย์ทั้งหมดที่ได้- ปศุสัตว์ ผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ จะต้องบริจาคในอัตราที่แน่นอนเป็นซากาต เช่น มี วัว ควาย ครบ ๓๐ ตัว ให้บริจาค ลูกวัว ควาย อายุ ๑ ปี ๑ ตัว ครบ ๑๐๐ ตัว บริจาคลูกวัวควาย อายุ ๒ ปี ๑ ตัว และอายุ ๑ ปี ๒ ตัว เป็นต้นผู้มีสิทธิรับซากาต ตามที่ระบุในกุรอานมีทั้งหมด เจ็ดประเภทคือ

การถือศีลอด ( الـصـــيام )




การถือศีลอด
ความหมายของการถือศีลอด...
คือ การงดเว้นการกระทำต่าง ๆ ตั้งแต่แสงอรุณขึ้นถึงตะวันตกดินคือ งดการกินและการดื่ม งดการแสดงออกทางเพศ งดการใช้วัตถุภายนอกล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะภายใน งดการแสดงอารมณ์ร้าย และความผิดต่าง ๆ พร้อมทั้งให้กระทำสิ่งต่าง ๆ คือ ทำการนมัสการ พระเจ้าให้มากกว่าวาระธรรมดา ถ้าเป็นการถือศีลรอมาดอน ให้ทำละหมาดตะรอวีห์ จำนวน ๒๐ รอกะอัต อ่านกุรอานให้มาก สำรวมอารมณ์และจิตใจ ทำทานแก่ผู้ยากไร้ และบริจาคเพื่อการกุศล กล่าวซิกิร (บทรำลึกพระเจ้า) และให้นั่งสงบจิต อิตติภาพ ในมัสยิด
วาระการถือศีลอด แบ่งออกเป็นสองประการคือ บังคับ และอาสาสมัคร
- ถือศีลอดบังคับ ได้แก่ การถือศีลอดที่ทางศาสนาบังคับว่า จะต้องถือคือ ในเดือนรอมดอน ครบทั้งเดือน ถือศีลอดตามที่บนไว้ ถือศีลอดชดเชยที่เคยขาด ถือศีลอดตามข้อผูกพัน เช่น เพื่อไถ่ความผิด
- ถือศีลอดอาสาสมัคร เช่น การถือศีลอด ๖ วัน ในเดือนเซาวาล (ต่อจากเดือนรอมดอน) ถือศีลอดในวันที่สิบของเดือนมุฮัดรอม ถือศีลอดในวันจันทร์ วันพฤหัสบดี เป็นต้น
*** สาเหตุให้เสียศีลอด มีแปดประการ คือ กินดื่ม อาเจียนโดยเจตนา ร่วมประเวณี เสียสติ นำวัตถุเข้าไปภายในร่างกาย เช่น รูหู ทวารต่าง ๆ เป็นต้น มีเลือดประจำเดือนหรือเลือดหลังคลอด ทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน และสิ้นสภาพอิสลาม

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ตำนานเมืองลังกะสุกะ



ตำนานเมืองลังกาสุกะ
จากหลักฐานเอกสารโบราณของจีน อาหรับ ชวา มลายู และจารึกของชาวอินเดีย ที่ปรากฎ นามเมืองของรัฐสำคัญแห่งหนึ่งบนแหลมมลายู ซึ่งออกเสียงตามสำเนียงในแต่ละภาษา เช่น หลังยาซูว หลังยาซีเจีย (ภาษาจีน พุทธศตวรรษที่ 11-12 และ 16-18) ลังคาโศกะ อิลังกาโศกะ (ภาษาสันสกฤต ภาษาทมิฬ พุทธศตวรรษที่ 9 และพุทธศตวรรษที่ 16) เล็งกะสุกะ (ภาษาชวา พุทธศตวรรษที่ 20) ลังคะศุกา (ภาษาอาหรับ พุทธศตวรรษที่ 21) ลังกะสุกะ ลังกาสุกะ (ภาษามลายู พุทธศตวรรษที่ 24) (wheatly 1961 Sklling 1992:131; อมรา ศรีสุชาติ 2540;กรมศิลปากร 2540:10) ชื่อที่ปรากฏนี้ นักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชื่อเมืองเดียวกัน ที่เคยตั้งอยู่ในรัฐเคดะห์ ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย และจังหวัดปัตตานีในประเทศไทย แต่ในสมัยหลังศูนย์กลางของเมืองแห่งนี้น่าจะอยู่ในจังหวัดปัตตานี เนื่องจากชาวพื้นเมืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ยังกล่าวว่าเมืองปัตตานี พัฒนาขึ้นมาจากเมืองลังกาสุกะสอดคล้องกับตำนานเมืองไทรบุรีที่กล่าวว่า ราชามะโรงมหาวงค์ทรงสร้างลังกาสุกะบนฝั่งตะวันตกที่เคดะห์และพระราชนัดดาของพระองค์ได้มาสร้างลังกาสุกะที่ปัตตานี ชาวพื้นเมืองปัตตานีเรียกบริเวณแถบนี้ว่าลังกาสุกะมาจนกระทั่งแม่น้ำปัตตานีเปลี่ยนทางเดิน (หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี,2539:107) ราวพุทธศตวรรษที่ 19 ชุมชนลังกาสุกะเริ่มเสื่อมลงไปเนื่องจากข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์และศาสนาวัฒธรรมของชาวเมืองได้เปลี่ยนแปลงไป นักวิชาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเชื่อว่า ปัตตานีเป็นที่แวะพักจอดเรือเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าระหว่างพ่อค้าชาวอินเดียทางตะวันตกกับพ่อค้าชาวจีนทางตะวันออก และชนพื้นเมืองบนแผ่นดินและตามหมู่เกาะใกล้เคียงต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเชื่อมั่นอีกด้วยว่าปัตตานีเดิมเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ตามที่ปรากฎในเอกสารโบราณที่กล่าวมา (ภัคพดี อยู่คงดี,มปป:2) หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงร่องรอยของความเจริญร่งเรืองในอดีตของปัตตานีที่บริเวณอำเภอยะรังเป็นซากร่องรอยของเมืองโบราณขนาดใหญ่ซ้อนทับกันถึง 3 เมือง มีซากเป็นโบราณสถานปรากฏอยู่ไม่น้อยกว่า 40 แห่ง ซากเนินโบราณสถานบางแห่งได้รับการขุดแต่งและอนุรักษ์ไว้ เช่น โบราณสถานบ้านจาเละ 3 แห่ง ซึ่งเป็นซากอาคารศาสนสถานก่ออิฐที่มีการขัดแต่งประดับฐานชั้นล่าง ๆ และยังค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่น สถูปจำลองดินเผ่า พระพิมพ์ดินดิบ และดินเผาบางชิ้นมีตัวอักษรซึ่งนักภาษาโบราณอ่านและแปลว่าเป็นอักษรปัลลวะ (อินเดียใต้) ภาษาสันสกฤตเขียนเป็นคาถาเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน พระโพธิสัตว์สัมฤทธิ์และเศษภาชนะดินเผาประเภทต่าง ๆ โบราณวัตถุเหล่านี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 (กรมศิลปากร, 2535) สอดคล้องกับจดหมายเหตุจีนที่ได้กล่าวถึงไว้ นอกจากนั้นหลักฐานที่ได้ขุดค้นพบยังแสดงให้เห็นด้วยว่าบริเวณที่เป็นที่ตั้งอำเภอยะรังในปัจจุบัน เป็นชุมชนที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาพุทธที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียไว้อย่างเต็มที่ มีความสัมพันธ์กับดินแดนใกล้เคียง เช่น บริเวณดินแดนภาคกลางของประเทศไทย และบริเวณคาบสมุทรอินโดจีนด้วย และคงจะเป็นชุมชนที่มีกิจกรรมสืบต่อเรื่อยมาจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 15 ก่อนที่อาณาจักรศรีวิชัยจะมีอำนาจรุ่งเรืองครอบคลุมคาบสมุทรมลายูในที่สุด (ภัคพดี อยู่คงดี,มปป.:2) นักภูมิศาสตร์เชื่อว่า เมืองโบราณขนาดใหญ่ที่บริเวณอำเภอยะรังนั้นหมดความสำคัญลงน่าจะมีเหตุผลประการหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลช่วงระยะเวลา 1,000 ปีที่ผ่านมา โดยลดลงไประดับหนึ่งมีผลทำให้ชายฝั่งทะเลถอยห่างออกไปจากเดิม ดังนั้น ที่ตั้งของชุมชนจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นทำเลของการเป็นเมืองท่าค้าขายอีกต่อไป และนำมาซึ่งการย้ายที่ตั้งของเมืองในระยะเวลาต่อมา ซึ่งสัมพันธ์กับตำนานการสร้างเมืองปัตตานีที่กล่าวไว้ในหนังสือหลายเล่ม เช่น Hikayat Patani:Story of Patani ของ A.Teeuw และ D.K.Wyatt:Sajaraj Kerajaan Melaya Patani หรือตำนานเมืองปัตตานีของ lbrahim Syukri เป็นต้น แม้ว่าจะไม่สามารถระบุระยะเวลากำเนิดของเมืองปัตตานีได้อย่างแน่ชัด แต่เมืองปัตตานีก็ได้ปรากฏชื่อและเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเป็นลำดับ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 เป็นอย่างน้อย เมืองปัตตานี ได้ชื่อว่าเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ปลายแหลมมาลายู มีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991-2031) และอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา ในปี พ.ศ.2054 โปรตุเกสสามารถยึดครองมะละกาได้สำเร็จ และพยายามขยายอิทธิพลทางการค้าขึ้นมาทางตอนเหนือของคาบสมุทรมาลายู ประกอบกับพระราชาธิบดีที่ 2 (พ.ศ.2034-2072) ทรงยินยอมให้โปรตุเกสเข้ามาตั้งสถานีการค้าในเมืองชายฝั่งทะเล เช่น นครศรีธรรมราช มะริด ตะนาวศรี รวมทั้งปัตตานีด้วย ทำให้ปัตตานีกลายเป็นเมืองท่าหลักเมืองหนึ่ง เป็นที่ตั้งของสถานีการค้าของพ่อค้าทั้งชาวตะวันตกและชาวตะวันออก ทั้งชาวอินเดีย จีน และญี่ปุ่น สินค้าที่สำคัญของเมืองปัตตานียุคนั้น ได้แก่ ไม้กฤษณา ไม้ฝาง เครื่องเทศ ของป่า งาช้าง และนอแรด นอกจากนี้ปัตตานียังเป็นจุดรับส่งสินค้าของนานาชาติ เช่น เครื่องถ้วยชาม อาวุธ ดินปืน ดีบุก และผ้าไหม (สถาบันทักษิณคดีศึกษา: 2529)แม้ว่าปัตตานีเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาก็ตาม แต่ด้วยเหตุเมืองที่ปัตตานีมีความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจเป็นอย่างดี ทำให้เจ้าเมืองปัตตานีต้องการเป็นอิสละหลายครั้ง ดังเช่น ในปี พ.ศ.2092 ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา พระยาตานีศรีสุลต่านได้นำกองทัพเรือประกอบด้วยเรือหย่าหยับ 200 ลำ ไปช่วยราชการสงคราม แต่เมื่อเห็นว่ากองทัพกรุงศรีอยุธยาเสียทีพม่า จึงถือโอกาสทำการขบถยกกำลังบุกเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิหนีข้ามฝากไปประทับบนเกาะมหาพราหมณ์ จนเมื่อกองทัพไทยรวบรวมกำลังได้แล้ว จึงยกกองทัพเข้าโอบล้อมตีกองทหารเมืองตานีจนแตกพ่ายไป ต่อมาในปี พ.ศ.2146 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีรับสั่งให้ออกญาเดโชยกทัพไปตีเมืองปัตตานี เพื่อยึดเข้าไว้ในพระราชอำนาจ แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากปัตตานีได้รับการช่วยเหลือจากพ่อค้าชาวยุโรป ทั้งอาวุธปืนใหญ่และทรัพย์สินเงินทอง ในสมัยพระเพทราชา (พ.ศ.2231-2245) เมืองปัตตานีไม่พอใจในการสถาปนาขึ้นใหม่ของกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ประกาศไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง ทำให้ปัตตานีเป็นอิสระต่อเนื่องมา จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ.2301 ตลอดมาจนสิ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี เมืองปัตตานีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบที่เมืองโบราณยะรังแสดงว่าประชาชนโดยทั่วไปก่อนหน้านั้นนับถือศาสนาพุทธและพราหมณ์ และเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม หลังจากที่อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง อิทธิพลของศาสนาอิสลามจากราชวงค์มัชปาหิตในชวาได้แผ่อำนาจเข้ามาสู่แหลมมลายูก่อตัวขึ้นเป็นอาณาจักรมะละกา ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 แผ่อิทธิพลไปสู่เมืองต่าง ๆ ทำให้เจ้าเมืองเปลี่ยนการนับถือศาสนาเดิมมาเป็นศาสนาอิสลามทั้งหมด ก่อให้เกิดความร่วมมือด้านการเมือง และการเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาคนี้อย่างเข้มแข็ง ศาสนาอิสลามได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นควบคู่ไปกับการค้า มีการก่อสร้างมัสยิดขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจ มัสยิดที่สำคัญคือ มัสยิดกรือเซะ ซึ่งเป็นมัสยิดใหญ่ประจำเมือง และมัสยิดบ้านดาโต๊ะ บริเวณที่เป็นท่าเรือทางตอนเหนือของอ่าวปัตตานี นอกจากนั้นยังมีมัสยิดและสุเหร่าในเขตชุมชนอิสลามถูกสร้างขึ้นอีกหลายแห่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2352) ทรงโปรดฯ ให้สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกทัพหลวงลงมาปราบปรามพม่าที่มาตีหัวเมืองทางแหลมมลายูจนเรียบร้อย และในปี พ.ศ.2328 กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จลงไปประทับที่เมืองสงขลาให้ข้าหลวงเชิญกระแสรับสั่งออกไปยังหัวเมืองที่เหลือ คือ เมืองปัตตานี เมืองไทรบุรี และเมืองตรังกานู ให้มายอมเป็นเมืองขึ้นเช่นเดิม แต่สุลต่านมูฮัมหมัดพระยาปัตตานีในขณะนั้นขัดขืน กรมพระราชวังบวรฯ จึงมีรับสั่งให้พระยากลาโหมยกกองทัพไทยลงไปตีเมืองปัตตานีได้ในปี พ.ศ.2329 กวาดต้อนครอบครัวและศาสตราวุธมาเป็นอันมาก รวมทั้งปืนใหญ่ 2 กระบอก แต่สามารถนำไปได้เพียงกระบอกเดียว แล้วจึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดฯ ให้จารึกชื่อเป็น ”พญาตานี” ซึ่งนับว่าเป็นปืนใหญ่กระบอกใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณหน้ากระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ.2332 ตนกูลามิดดินเจ้าเมืองปัตตานีมีหนังสือไปชวนองค์เชียงสือเจ้าอนัมก๊ก ให้ร่วมกันตีหัวเมืองในพระราชอาณาจักร เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงทราบ จึงโปรดฯ ให้ยกทัพไปตีเมืองปัตตานีอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2351 ดาตะปังกาลันได้ก่อความไม่สงบขึ้น รัชกาลที่ 1 โปรดให้เจ้าพระยาพลเทพ (บุนนาค) ยกทัพหลวงออกไปสมทบกับเมืองสงขลา พัทลุง จะนะ ตีเมืองปัตตานีได้สำเร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ.2352-2367) เกิดความไม่สงบบ่อยครั้ง ดังนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาอภัยสงครามและพระยาสงขลา (เถี่ยนจ๋อง) ผู้กำกับดูแลหัวเมืองมลายูแบ่งเมืองตานีออกเป็น 7 หัวเมือง และแต่งตั้งให้พระยาเมืองเป็นผู้ปกครอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2359 เป็นต้นมา ได้แก่ 1. เมืองปัตตานี ต่วนสุหลง เป็นเจ้าเมือง2. เมืองยะหริ่ง นายพ่าย เป็นเจ้าเมือง3. เมืองสาย นิเดะห์ เป็นเจ้าเมือง4. เมืองหนองจิก ต่วนนิ เป็นเจ้าเมือง5. เมืองระแงะ นิดะห์ เป็นเจ้าเมือง6. เมืองรามันห์ ต่วนมันโซร์ เป็นเจ้าเมือง7. เมืองยะลา ต่วนยาลอร์ เป็นเจ้าเมือง(Ibrahim Syukri, 1985 : 61-62 ; ครองชัย หัตถา, 2451 : 140-142)ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกวิธีการปกครองบ้านเมืองแบบจตุสดมภ์ (เวียง วัง คลัง นา) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2435 เป็นต้นมา จัดการปกครองเป็นแบบ 12 กระทรวง มีกระทรวงมหาดไทยเป็นกระทรวงการแผ่นดิน โดยให้จัดการปกครองเป็นระบบเทศาภิบาล ทรงใช้นโยบายประนีประนอมและทรงดำเนินการทีละขั้นตอนโดยไม่ก่อ่ให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อการปกครองของเจ้าเมือง ทั้ง 7 หัวเมือง ในภาคใต้ทรงโปรดฯ ให้จัดแบ่งเป็น 4 มณฑล ได้แก่ ๑. มณฑลภูเก็ต จัดตั้งในปี พ.ศ. 2437๒. มณฑลชุมพร จัดตั้งในปี พ.ศ. 2439๓. มณฑลนครศรีธรรมราช จัดตั้งในปี พ.ศ. 2439๔. มณฑลไทรบุรี จัดตั้งในปี พ.ศ. 2440มณฑลนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยเมือง 10 เมือง โดยรวมเอาบริเวณ 7 หัวเมืองเข้าไว้ด้วยคือ เมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ตานี ยะหริ่ง สายบุรี หนองจิก ยะลา ระแงะ และรามันห์ มีผู้ว่าราชการเมืองดูแล อยู่ในการปกครองของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑล ปี พ.ศ. 2447 ทรงพระกรุณาโปรดให้แยกหัวเมืองทั้ง 7 ออกจากมณฑลนครศรีธรรมราช มาตั้งเป็นมณฑลปัตตานี พร้อมทั้งเปลี่ยนฐานะเมืองเป็นอำเภอ และจังหวัด ได้แก่ จังหวัดปัตตานี รวมเมืองหนองจิกและเมืองยะหริ่งจังหวัดสายบุรี รวมเมืองระแงะ จังหวัดยะลา รวมเมืองรามันห์นอกจากนี้ยังแยกท้องที่อำเภอหนองจิกยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมืองเก่า ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอมะกรูดและอำเภอโคกโพธิ์ตามลำดับ เมืองปัตตานีเดิมเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอปะกาฮะรัง และจัดตั้งอำเภอขึ้นใหม่อีก 2 อำเภอ คือ อำเภอยะรัง และอำเภอปะนาเระขึ้นกับจังหวัดปัตตานีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำภายหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 รัฐบาลจึงต้องตัดทอนรายจ่ายให้น้อยลงเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ จึงยุบเลิกมณฑลปัตตานี คงสภาพเป็นจังหวัด ยุบจังหวัดสายบุรีเป็นอำเภอตะลุบัน และแบ่งพื้นที่บางส่วนของสายบุรี คือระแงะ และบาเจาะ ไปขึ้นกับจังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 เป็นต้นมา จังหวัดปัตตานีมีการปกครองโดยผู้ว่าราชการจังหวัด พระยารัตนภัคดี (แจ้ง สุวรรณจินดา) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีคนแรก ภายใต้การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวในปี พ.ศ. 2499 และ พ.ศ. 2505 และใช้บริหารราชการแผ่นดินมาจนทุกวันนี้เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดปัตตานีในอดีต ได้แก่ เหตุการณ์ความไม่สงบอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในแต่ละยุคแต่ละสมัย จนนำไปสู่การต่อต้านรัฐซึ่งมีมาเป็นลำดับ ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การต่อต้านรัฐทำให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองและการการก่อการร้ายในเวลาต่อมา ตัวอย่างเช่น ระหว่างปี พ.ศ. 2453 – 2465 มีการต่อต้านรัฐบาลอย่างรุนแรงจากมุสลิมปัตตานี เกิดการจลาจลหลายครั้งโดยนำประเด็นทางศาสนาที่แตกต่างไปจากรัฐผู้ปกครอง รวมถึงการที่รัฐบาลไทยเริมใช้กฎหมายและระเบียบที่ขัดกับหลักการของศาสนา หรือขัดต่อประเพณีปฏิบัติของชาวมุสลิม ในปี พ.ศ. 2466 สมัยรัชกาลที่ 6รัฐบาลจึงทบทวนผ่อนปรนระเบียบปฏิบัติที่ขัดต่อศาสนาอิสลาม และให้ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามมีบทบาทในการปกครองดูแลตนเองได้มากขั้น จนกระทั้งปี พ.ศ. 2475 เมื่อประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก นับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ แม้ว่าการเลือกตั้งครั้งแรก พ.ศ. 2476 ที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จะไม่มีผู้ที่เป็นมุสลิมได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มมากขึ้น และได้ทำหน้าที่ทางนิติบัญญัติและทางการบริหารอย่างต่อเนื่อง ในบางยุคบางสมัย(เช่น ในปี พ.ศ. 2539) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นมุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการเสนอชื่อ และได้รับพระบรมโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำสูงสุดฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศหากพิจารณาถึงผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2480 และ พ.ศ. 2481 ที่ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นมุสลิมได้รับการเลือกตั้งทั้งหมด อย่างไรก็ตามความขัดแย้งต่างๆ ในบางประเด็นยังคงมีอยู่ เช่น การจัดการศึกษาภาคบังคับการใช้ภาษาและระเบียบปฏิบัติต่างๆ ระหว่างปี พ.ศ. 2482 – 2485 ความไม่เข้าใจของชาวมลายูมุสลิมขยายตัวออกไปมากขึ้น เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้นประกาศใช้นโยบาย “รัฐนิยม” รวม 12 ฉบับ ปรากฏว่า นโยบายหลายข้อขัดต่อประเพณีปฏิบัติของชาวมลายูมุสลิม ในปี พ.ศ. 2491 หะยีสุหลงถูกรัฐบาลไทยจับกุม ความตึงเครียดระหว่างชาวมลายูมุสลิมกับรัฐบาลไทยจึงปะทุขึ้น มีการปราบปรามและปะทะกันด้วยอาวุธ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายคน รัฐบาลไทยเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “กบฏดุซงยอ” ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ชาวมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้นับพันคนอพยพลี้ภัย บางส่วนไปอาศัยอยู่อย่างถาวรในรัฐต่างๆ ตอนบนของสหพันธรัฐมาเลเซีย นอกจากนั้นผลกระทบที่สืบเนื่องต่อมา คือความรู้สึกต่อต้านและความหวาดระแวงต่อกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับผู้นำชาวมุสลิม บางครั้งก็มีการปฏิบัติการที่รุนแรงจากทั้งสองฝ่าย การต่อต้านรัฐได้ปรากฏเป็นขบวนการเคลื่อนไหวชัดเจนขึ้นทันที เมื่อผู้อพยพจากเกตุการณ์ที่ปัตตานี ระหว่าง พ.ศ. 2490 – 2491 ได้รวบรวมสมาชิกจำนวนหนึ่งจัดตั้ง “ขบวนการประชาชาติมลายูปัตตานี” หรือ GAMPAR (Gabogan Melayu Pattani Raya) มีศูนย์กลางอยู่ที่โกตาบารู และมีเครือข่ายในกลันตัน เคดะห์ สิงคโปร์ และปีนัง ส่วนที่ปัตตานีมีการเคลื่อนไหวของประชาชนชาวปัตตานี หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2502 ได้มีการรวบรวมผู้นำและสมาชิกจากปัตตานีและ GAMPAR จัดตั้งเป็นขบวนการใหม่ คือ “ขบวนการแนวหน้าแห่งชาติเพื่อปลดปล่อยปัตตานี” หรือ BNPP (Barisan National Pembebasan Pattani) ปี พ.ศ. 2503 มีการจัดตั้งขบวนการปฏิบัติแห่งชาติหรือ BRN (Barisan Revolusion Nasional) มีการเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่องบริเวณเขตรอยต่อชายแดนไทย – มาเลเซียแถบจังหวัดยะลา และสงขลา ในปี 2511 มีขบวนการปลดแอกสาธารณรัฐปัตตานี หรือ PULO (Pattani United Liberation Organization) เกิดขึ้น องค์กรนี้มีบทบาทสูงและมีการใช้ความรุนแรงในการเคลื่อนไหว มีการโฆษณาผลงานปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ จนได้รับความเชื่อถือจากองค์กรในต่างประเทศที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวดังกล่าว (Mohd. Zamberi A.Malak, 1993 : 318 – 330 ; Ahmad Fathy al – Fatani, 1994 : 127 – 131 ; Pitsuwan, 1989 : 175 - 187) ในระยะที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (PKT : Parti Komunis Thailand) และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งมลายา (PKM : Parti Komunis Malaya) เคยมีบทบาทเคลื่อนไหวอยู่ตามแนวชายแดนไทย - มาเลเซีย มีหลักฐานชัดเจนว่าพรรคคอมมิวนิสต์ทั้งสองให้การสนับสนุนขบวนการแบ่งแยกดินแดน และยุยงให้ประชาชนต่อต้านรัฐบาล (Thomas, 1975 : 205) ในช่วงปี พ.ศ. 2516 ขบวนการนักศึกษามีบทบาทโดยตรงต่อกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางการเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีแนวร่วมสหพันธ์นักศึกษามุสลิมเป็นแกนนำสำคัญ หนังสือพิมพ์เสียงนิสิต (SUARA SISWA) เป็นแหล่งข่าวสารเพื่อการเผยแพร่อุดมการณ์ของแนวร่วมนักศึกษามุลิมในยุคนั้น โดยมีหัวหน้ากองบรรณาธิการในขณะนั้นดำเนินการอยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ส่วนที่โกตาบารู รัฐกลันตันได้มีการร่วมตัวกันจัดตั้งขบวนการ GIP (Garakan Islam Pattani) (Ahmad Fathy al Fatani, 1994 : 131) หรือพรรคอิสลามก้าวหน้าแห่งปัตตานี ขบวนการเคลื่อนไหวมาเลเซียดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองบางพรรคในมาเลเซีย การเคลื่อนไหวก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีมาอย่างต่อเนื่อง มีการผลัดเปลี่ยนผู้นำเป็นระยะๆ ตามสถานการณ์ภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งสถานการณ์ที่มีอยู่ในมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ตลอดจนบทบาทของอุดมการณ์ที่มาจากประเทศในตะวันออกกลางและการฟื้นฟูความสำนึกในอิสลาม (อิมรอน มะลูลีม, 2534 : 164 - 178) รัฐบาลไทยเคยใช้นโยบายปฏิบัติการทางทหารเข้าไปปราบปรามอย่างรุนแรง ต่อมาได้ใช้นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่กันไปกับการอุปถัมภ์ศาสนาอิสลาม รวมทั้งการปรับปรุงความสัมพันธ์และทัศนคติระหว่างข้าราชการกับชาวมุสลิมให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น โดยมีศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นศูนย์ประสานงาน และด้ำเนินการตามนโยบายดังกล่าว

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

"10 AMALAN YANG TERBALIK" Marilah kita bermuhasabah atau menilai dan menghitung kembali tentang amalan harian kita. Kadang-kadang kita akan dapati amalan kita adalah terbalik atau bertentangan dari apa yang patut dilakukan dan dituntut oleh Islam. Mungkin kita tidak sedar atau telah dilalaikan atau terikut-ikut dengan budaya hidup orang lain. Perhatikan apa yang dipaparkan dibawah sebagai contoh amalan yang terbalik:- 1. Amalan kenduri arwah beberapa malam yang dilakukan oleh keluarga simati selepas sesuatu kematian (malam pertama, kedua, ketiga, ketujuh dan seterusnya) adalah terbalik dari apa yang dianjurkan oleh Rasulullah di mana Rasulullah telah menganjurkan jiran tetangga memasak makanan untuk keluarga simati untuk meringankan kesusahan dan kesedihan mereka. Keluarga tersebut telah ditimpa kesedihan, terpaksa pula menyedia makanan dan belanja untuk mereka yang datang membaca tahlil. Tidakkah mereka yang hadir makan kenduri tersebut khuatir kalau-kalau mereka termakan harta anak yatim yang ditinggalkan oleh simati atau harta peninggalan simati yang belum dibahagikan kepada yang berhak menurut Islam? 2. Kalau hadir ke kenduri walimatul urus (kenduri kahwin) orang kerap salam berisi (hadiah wang yang diberi semasa bersalam). Kalau tak ada duit nak dikepit dalam tangan, maka segan ia nak pergi makan kenduri. Tetapi kalau ia menziarah orang mati, tidak segan pula salam tak berisi. Sepatutnya kalau menziarah keluarga si matilah kita patut memberi sedekah. Kalau ke kenduri kahwin, tak bagi pun tak apa kerana tuan rumah panggil untuk diberi makan bukan untuk ia menambah pendapatan. 3. Ketika menghadiri majlis pemimpin negara, kita berpakaian cantik kemas dan segak tetapi bila mengadap Allahbaik di rumah maupun di masjid, pakaian lebih kurang saja bahkan ada yang tak berbaju. Tidakkah ini suatu perbuatan yang terbalik. 4. Kalau menjadi tetamu di rumah orang dan di beri jamuan, kita rasa segan nak makan sampai habis apa yang dihidangkan kerana rasa segan dan malu, sedangkan yang dituntut dibanyakkan makan dan dihabiskan apa yang dihidang supaya tuan rumah rasa gembira dan tidak membazir. 5. Kalau bersolat sunat di masjid amat rajin, tapi kalau di rumah, sangat malas. Sedangkan sebaik-baiknya solat sunat banyak dilakukan di rumah seperti yang dianjurkan oleh Rasulullah untuk mengelakkan rasa riak. 6. Bulan puasa adalah bulan mendidik nafsu termasuk nafsu makan yang berlebihan tetapi kebanyakan orang mengaku bahawa dalam carta perbelanjaan setiap rumah orang Islam akan kita dapati perbelanjaan di bulan puasa adalah yang tertinggi dalam setahun. Sedangkan sepatutnya perbelanjaan di bulan puasa yang terendah. Bukankah terbalik amalan kita? 7. Kalau nak mengerjakan haji, kebanyakan orang akan membuat kenduri sebelum bertolak ke Mekah dan apabila balik dari Mekah tak buat kenduri pun. Anjuran berkenduri dalam Islam antaranya ialah kerana selamat dari bermusafir, maka dibuat kenduri, bukan kerana nak bermusafir, maka dibuat kenduri. Bukankah amalan ini terbalik? Atau kita mempunyai tujuan lain. ?? 8. Semua ibubapa amat bimbang kalau-kalau anak mereka gagal dalam periksa. Maka dihantarlah ke kelas tuisyen walau pun banyak belanjanya. Tapi kalau anak tak boleh baca Quran atau solat, tak bimbang pula bahkan tak mahu hantar tuisyen baca Quran atau kelas khas mempelajari Islam. Kalau guru tuisyen sanggup dibayar sebulan berpuluh ringgit satu pelajaran 8 kali hadir tapi kepada Tok Guru Quran nak bayar RM15.00 sebulan 20 kali hadir belajar pun menggeletar tangan. Bukankah terbalik amalan kita? Kita sepatutnya lebih berbimbang jika anak tidak dapat baca Al Quran atau bersolat dari tidak lulus periksa. 9. Kalau bekerja mengejar rezeki Allah tak kira siang malam, pagi petang, mesti pergi kerja. Hujan atau ribut tetap diharungi kerana hendak mematuhi peraturan kerja. Tapi ke rumah Allah (masjid) tak hujan, tak panas, tak ribut pun tetap tak datang ke masjid sedangkan itu ialah peraturan Allah. Sungguh tak malu manus begini, rezeki Allah diminta tapi nak ke rumahNya segan dan malas. 10. Seorang isteri kalau nak keluar rumah samada dengan suami atau tidak, bukan main lagi berhias. Tetapi kalau duduk di rumah, masyaAllah. Sedangkan yang dituntut seorang isteri itu berhias untuk suaminya, bukan berhias untuk orang lain. Perbuatan amalan yang terbalik ini membuatkan rumahtangga kurang bahagia. 11. Kita cukup teruja untuk forward kan sms atau emel dalam bentuk jokes, gossip2 artis kepada kawan2. Malah kebanyakkan sms emel tersebut tidak benar dan boleh menjatuhkan ruah org lain. Tapi kenapa susah sangat nak forward emel2 peringatan sebegini kepada kawan2 kita??..... Cukup dengan contoh-contoh di atas. Marilah kita berlapang dada menerima hakikat sebenarnya. Marilah kita beralih kepada kebenaran agar hidup kita menurut landasan dan ajaran Islam yang sebenar bukan yang digubah mengikut selera kita. Allah yang mencipta kita maka biarlah Allah yang menentukan peraturan hidup kita. Sabda Rasullullah SAW: "Sampaikanlah dariku walaupun satu ayat." (Riwayat Bukhari)

Selamat kedatangan Bulan Shawwal..