IslamicFinder photo gallery banner

Selamat Hari Raya Idil Adha 1428 h..

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

คัมภีร์อัลกุรอาน ( القرآن الكريم )


คัมภีร์อัลกุรอาน
คัมภีร์อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ศาสนาที่ชาวอิสลามเชื่อกันว่า มีความศักดิ์สิทธิ์มาก เพราะไม่ได้เกิดจากความคิดมนุษย ์แต่ เป็นพระวจนะอันศุกดิ์สิทธื?ที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้มนุษย์โดยผ่านทางนบีฯมุฮัมมัด (ศ็อลฯ)
คำว่า “ กุรอาน ” นี้ แปลว่า “ การอ่าน ” ซึ่งน่าจะได้มาจากคำแรกที่ปรากฏในบทแรกที่ว่า“ จงอ่านด้วยพระนามของพระผู้อภิบาลของเจ้า...... ”
คัมภีร์นี้เชื่อกันว่า เป็นคำสอนครั้งสุดท้ายและเป็นการปิดฉากคัมภีร์ทั้งหลายที่อัลลอฮ์ประทานมาเป็นระยะ นับตั้งแต่คัมภีร์เตารอดหรือโตราห์ ( The Old Testament ) ซึ่งพระองค์ทรงประทานให้แก้นบีมูซา (โมเสส) คัมภีร์ซาบู ทรงประทานให้แก่นบีดาวูด ( David ) คัมภีร์อินญีล (The New Testament ) ทรงประทานให้แก่นบีอีซา (พระเยซู) และคัมภีร์อัลกุรอาน ทรงประทานให้แก่นบีฯ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ)
การประทานคัมภีร์ให้แก่ศาสนทูตเหล่านี้กระทำโดยการลงวะหี้ย์ ซึ่งมีทั้งการดลใจที่เรียกว่า “ วะหี้ย์ เคาะฟียะ ”ส่วนการฝันหรือการได้ยินเสียงหรือเห็นภายในขณะที่ตกอยู่ในภวังค์เรียก “ วะหี้ย์ บินจะรออิฮีจาบ ”ส่วนวะหี้ย์ที่เป็นอัลกุรอานนั้นเรียกว่า “ วะหี้ย์อัล มัตลุว์ ” คือ ที่ถูกกล่าวหรือบอกให้ฟังเป็นถ้อยคำโดยท่านญิบรีลบอกแก่นบีฯ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นวะหี้ย์ที่อัลลอฮ์ทรงมีแก่ศาสดาโดยเฉพาะและเป็นครั้งสุดท้าย ต่อจากนี้ไปจะไม่มีการลงวะหี้ย์อีก ชาวมุสลิมจึงเชื่อว่านบีฯ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นศาสดาสุดท้ายของโลก
คัมภีร์อัลกุรอานต่างจากคัมภีร์เล่มอื่น ๆ ตรงที่คัมภีร์เหล่านั้น เมื่อมีการลงวะหี้ย์เพียงครั้งเดียวก็จบแล้ว แต่อัลกุรอานนี้มีการลงวะหี้ย์เป็นระยะ ๆ ตลอดเวลา 23 ปี การลงมาแต่ละครั้งเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้นแก่กลุ่มชนอย่างกะทันหัน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไปของมุสลิม เมื่อนบีฯ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้รับโองการจากอัลลอฮ์แต่ละครั้ง บุคคลที่ใกล้ชิดจะจดจำและบันทึกไว้ บุคคลแรกที่ท่านใกล้ชิด คือ อบูบักร์ อุษมาน และอาลี เป็นต้น ทั้ง 3 ท่านนี้ต่อมาได้เป็นคอลีฟะห์ (ผู้นำทางศาสนาและด้านการปกครองของอิสลาม)
แม้นว่าผู้ท่องจำคัมภีร์อัลกุรอานจะมีมากก็ตาม แต่คอลีฟะห์อบูบักร์ (ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของศาสดา) ก็มิได้ประมาทในเรื่องนี้ ดังนั้น หลังจากนบีฯ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้สิ้นชีวิตไป 6 เดือน คอลีฟะห์อบูบักร์ได้มอบให้ซัยต์ อิบนิษาบิต พร้อมสาวกคนอื่น ๆ ดำเนินการรวบรวมจากบันทึกต่าง ๆที่มีอยู่และจากการท่องจำ เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว จึงนำเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ อันประกิบด้วยสาวกและผู้ใกล้ชิดของศาสดาช่วยกันตรวจสอบจนถูกต้อง นับว่าเป็นการรวบรวมบันทึกคัมภีร์อัลกุรอานให้เป็นรูปเล่มเป็นครั้งแรก จนกระทั่งในสมัยของคอลีฟะห์อุษมานได้มีการคัดลอกต้นฉบับแจกจ่ายไปยังเมืองที่นับถือศาสนาอิสลาม จึงนับได้ว่าการสังคายนาคัมภีร์อัลกุรอานนี้มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น นอกนั้นเป็นเพียงการถ่ายทอดแปลออกมาเป็นภาษาต่าง ๆ สำหรับชาวมุสลิมต่างภาษาได้เข้าใจความหมาย
ภาษาที่ใช้ในคัมภีร์อัลกุรอานเป็นภาษาอาหรับและเป็นภาษาเดียวเท่านั้นที่ชาวมุสลิมเชื่อว่าพระเจ้าได้ทรงประทานมาโดยเฉพาะ ส่วนภาษาอื่น ๆ เป็นเพียงการแปลความหมายมาจากคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์เล่มนี้มีทั้งหมด 114 บทหรือซูเราะ บทที่อัลลอฮ์ทรงประทานให้ที่นครมักกะฮ์เป็นเวลาถึง 13 ปีนั้นมี 93 บท และที่นครอัลมาดีนะฮ์ อัลลอฮ์ทรงประทานวะหี้ย์ลงมาอีก 10 ปี มี 21 บท เข้าแบ่งเป็นวรรคเป็นโองการ (อายะห์) มีประมาณ 6666 อายะห์
บทที่ได้รับวะหี้ย์ที่มักกะฮ์ เรียกว่า “ มักกียะฮ์ ” เป็นโองการที่ได้ถูกประทานลงมาก่อนการ “ ฮิจญเราะญ์ ” หรือการอพยพหนีจากมักกะฮ์ไปเมืองอัลมาดีนะฮ์ บทนี้ไม่ยาวมากนัก ได้กล่าวถึงเรื่องราวชนชาติต่าง ๆ ตลอดจนความเสื่อมโทรมและความล่มจมของชาตินั้น ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความเป็นเอกภาพของอัลลอฮ์ การชักชวนให้ประกอบความดีละเลยความประพฤติชั่ว และการทำละหมาด
สำหรับบทที่ได้รับวะหี้ย์ที่อัลมาดีนะฮ์ เรียกว่า “ มะดะนียะฮ์ ” เป็นโองการที่ถูกประทานลงมาหลัง “ ฮิจญเราะฮ์ ” บทนี้ยาวมากเพราะเป็นประมวลกฎหมายและหลักการต่าง ๆ เช่น การบำเพ็ยฮัจญ์ การออกซะกาต การถือศีลอด การซื้อขาย การหย่าร้าง และหลักการต่าง ๆ ที่จะเป็นธรรมนูญชีวิตของมุสลิม
ดังนั้นสาระสำคัญในคัมภีร์อัลกุรอานจึงมีทั้งศาสนา ปรัชญา ประวัติศาสตร์ สุขศึกษา รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ คัมภีร์อัลกุรอานจึงเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในทางศาสนาอิสลามจะใช้คัมภีร์อัลกุรอานเป็นแนวทางในการตัดสินปัญหา ความลึกซึ้งในภาษามีมากจนปัจจุบันนี้ยังไม่มีปราชญ์คนใดเขียนได้ดีเท่า และในคัมภีร์ก็ไม่มีตอนใดที่ขัดแย้งกันเลย ทั้ง ๆ ที่นบีฯ มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ไม่มีความสามารถทั้งในการอ่านและการเขียนหนังสือ .

ไม่มีความคิดเห็น: