IslamicFinder photo gallery banner

Selamat Hari Raya Idil Adha 1428 h..

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การประกอบพิธีฮัจย์ ( الحجّ )



การประกอบพิธีฮัจย์ ( الحجّ )


การประกอบพิธีฮัจย์ ในชีวิตหนึ่ง มุสลิมจะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย อย่างน้อยหนึ่งครั้ง เป็นข้อบังคับสำหรับทุกคนที่มีความสามารถพอจะเดินทางไปได้ และไม่ทำให้ครอบครัวเดือดร้อน ขณะเดินทาง กำหนดเวลาไปทำฮัจย์ พิธีจะทำในเดือน ซุ้ล - ฮิจญะห์ ของแต่ละปี หากเดินทางไปในเวลาที่มิใช่ฤดูกาลฮัจย์ จะเรียกศาสนกิจนั้นว่า อุมเราะฮ์ สถานที่ประกอบพิธีฮัจย์ มีเพียงแห่งเดียว อยู่ที่ กะอ์บะฮ์ หรือบัยตุลลอฮ์ ในเมืองมักกะฮ์ กะอ์บะฮ์ คือ สิ่งก่อสร้างรูปทรงสี่เหลี่ยม (อะกะบะ แปลว่า นูนขึ้นพองขึ้น) ที่ท่านนบีอิบรอฮิม และ นบีอิสมาอีล บุตรชายช่วยกันสร้างขึ้น จากรากเดิมที่มีเหลืออยู่ตามที่ได้รับคำสั่งจากพระเจ้า อัลลอฮ์ (ซุบห์ ฯ) เมื่อประมาณ ๒๐๐ ปี ก่อนคริสกาล กะอ์บะฮ์ มีชื่อเรียกอยู่หลายอย่าง ที่ปรากฎอยู่ในกุรอาน เช่น อัล - บัยตุลหะรอม อัล - มัสญีดุลหะรอม บัยตุลอ์ติก แต่ชื่อที่รู้จักกันมากที่สุดคือ บัยตุลลอฮ์ แปลว่า บ้านของอัลลอฮ์ พิธีฮัจย์ มิได้เพิ่งมีปฎิบัติในสมัยของนบีมูฮำมัด (ศ็อล ฯ) หากแต่มีมาตั้งแต่สมัยนบีฮิบรอฮิม ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของท่าน แต่ช่วงหลัง นบีอิรอฮิม และอีสมาอีล มาก่อนถึงท่านนบีมูฮำมัด จะได้รับจากอิสลามจากอัลลอฮ์ บ้านของอัลลอฮ์แห่งนี้ได้ถูกเปลี่ยนเจตนารมณ์ จากผู้หลงผิด กลายเป็นสถานที่ชุมนุมรูปปั้นเทพเจ้าต่าง ๆ กว่า ๓๐๐ รูป และการกระทำอันน่ารังเกียจ ทุ่งอารอฟะห์ มีลักษณะเป็นทุ่งกว้างในหินผากว้างใหญ่สูงประมาณ ๓๐๐ ฟุต อยู่ห่างจากเมืองมักกะฮ์ประมาณ ๒๕ กิโลเมตร เป็นสถานที่ที่ผู้ประกอบพิธีฮัจย์ทั้งหมด (ฮุจญาด) จะไปร่วมชุมนุมกันในวันที่เก้าของเดือนซุล - ฮิจญะห์ ตั้งแต่เช้าถึงก่อนดวงอาทิตย์ตก เป็นที่เริ่มแรกของพิธีฮัจย์ หลังจากนุ่งผ้าเอี๊ยะราม (ชุดขาวจากผ้าสองผืน) แล้ว ในการค้างแรมที่อารอฟะห์นี้ ผู้ไปประกอบพิธีจะกางเต้นท์อยู่ โดยมีธงชาติของประเทศตนติดไว้ ทุ่งแห่งนี้เป็นที่ชุมนุมของคนจากที่ต่าง ๆ ทั่วโลกมาพักอยู่ด้วยความสงบ จึงเรียกการปฏิบัตินี้ว่า วูกูฟ (หยุดสงบนิ่ง) เสร็จจากวูกูฟ ผู้ไปประกอบพิธีจะเดินทางไปยังมีนา เพื่อค้างแรมที่นั่นสามวันสามคืน เพื่อขว้างเสาหิน แต่เนื่องจากการเดินทางอยู่ระหว่างกลางคืน ท่านนบีจึงค้างคืนที่ทุ่งมุสตะลิฟะห์หนึ่งคืน จึงออกเดินทางไปทุ่งมีนาในตอนเช้าของวันที่สิบ สำหรับมุสลิมที่ไม่ได้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ถือว่าวันรุ่งขึ้นจากการวูกูฟของผู้ไปประกอบพิธีฮัจย์คือ วันอีดิ้นอัฏฮาหรือที่ชาวไทยเรียกว่า ออกฮัจญี ณ ทุ่งอารอฟะห์แห่งนี้คือสถานที่ท่านนบีมูฮำมัดแสดงการกล่าวอบรมในที่ชุมนุมเป็นครั้งสุดท้าย การแต่งกายในพิธีฮัจย์ ผู้ชายทุกคนจะแต่งกายด้วยผ้าขาวสองชิ้นที่ไม่มีการเย็บ ส่วนหญิงจะแต่งกายด้วยชุดที่มิดชิดไม่มีเครื่องประดับใด ๆ ทั้งสิ้น หลักข้อแรกของการบำเพ็ญฮัจย์ได้แก่เอี๊ยะราม จากมีกอต (เขตที่กำหนดให้นุ่งเอียะราม) ด้วยตั้งใจจะบำเพ็ญฮัจย์จากเขตสถานที่แห่งหนึ่งเรียกว่า ยะลัมลัม (ที่แสดงเขตให้นุ่งเอี๊ยะห์รามของผู้ที่เดินทางไปจากภาคพื้นเอเซีย) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองฮิดดะฮ์ ประมาณ ๖๓ กิโลเมตร การประกอบพิธี ตั้งแต่เริ่มนุ่งเอี๊ยะราม จนถอดเอี๊ยะรามเมื่อเสร็จพิธี ผู้ประกอบพิธีฮัจย์จะเริ่มกล่าวสรรเสริญด้วยภาษาอาหรับว่า"ลันปัยกัลลอ ฮุมมะลับปัยกะ ลาซารีกะลัก แปลว่า อัลลอฮ์ ข้า ฯ ขอรับคำเชิญของท่าน ไม่มีผู้ใดเทียบเท่าท่าน" ขั้นตอนการประกอบพิธีเป็นไปตามลำดับคือการนุ่งเอี๊ยะราม การวูกูฟที่ทุ่งอารอฟะห์ การค้างแรมที่ทุ่งมุสตะลิฟะห์หนึ่งคืน แล้วเดินทางไปทุ่งมีนาสามคืนเพื่อขว้างเสาหิน การฏอวาฟ (เดินเวียนซ้ายรอบปัยตุลลอฮ์เจ็ดรอบ) สะแอ (การเดินและวิ่งกลับไปมาระหว่างอัศซอฟกับอัลมัรฮ์เจ็ดเที่ยว) การทำกุรปั่น หรือเชือดสัตว์เป็นพลี สำหรับผู้ที่มีความสามารถหรือการถือศีลอดทดแทนเจ็ดวัน โกนผมหรือตัดผมเสร็จแล้วจึงถอดชุดเอี๊ยะราม.

ไม่มีความคิดเห็น: